การรับน้ำหนักของเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) i18

14775 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การรับน้ำหนักของเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) i18

การรับน้ำหนักของเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) i18

 

       เสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) i18 เสาเข็มทางเลือกใหม่สำหรับงานต่อเติม เหมาะสำหรับงานต่อเติมบ้าน งานสร้างใหม่ ที่มีเนื้อที่ในการทำงานจำกัด โดยจะทำการตอกโดยเครื่องปั้นจั่นชนิดพิเศษ ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกรวดเร็ว ไม่มีอุปสรรคแม้งานจะอยู่ในที่แคบ พื้นที่ข้างเคียงได้รับความสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย ทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องหน้างานเลอะเทอะจากดิน หมดปัญหาเรื่องค่าทำความสะอาดหลังเสร็จงาน

       เสาเข็มไมโครไพล์  I 18 ขนาด 18 ซม. x 18 ซม.  มีความยาวท่อนละ 1.50 ม. I18: รับน้ำหนักได้ 14 - 16 ตัน เหมาะสำหรับงานพื้นที่จอดรถและ ถนน, งาน ปรับปรุงฐานรากโครงสร้าง,สร้างพื้นโรงงาน, และก่อสร้างอาคาร/ส่วนต่อเติม 2 ชั้น

 

 

ข้อดีของเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) i18

เสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) นั้นสามารถเข้าทำงานในพื้นที่จำกัดสามารถเข้าทำงานได้ในพื้่นที่ ที่กว้าง 1.5 เมตร และความสูงมีโดยประมาณ 3 เมตร สามารถเข้าในพื้นที่แคบและสามารถตอกให้ชิดกับสร้างเดิมโดยห่างจากตัวโครงสร้างประมาณ 50 เซนติเมตร  
- เสาเข็มไมโครไพล์มีให้เลือกหลากลายขนาดตามความเหมาะสมกับการรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง
- เหมาะสมกับหน้างานที่แคบหรือมีพื้นที่จำกัด
- สามารถรับน้ำหนักได้ดีไม่ต่างจากเสาเข็มเจาะหรือเสาเข็มปั่นจั่นใหญ่
- เสาเข็มไมโคไพล์ เหมาะสมกับงานก่อสร้างใหม่และงานต่อเติมทุกชนิด
- ทำงานได้อย่างรวดเร็วหลังจากตอกเสร็จสามารถเริมงานก่อสร้างฟุตติ้งต่อได้
- ตอกได้ลึก 16-21 เมตร เช็ค blow count ทุกต้น
- เสาเข็มไมโครไพล์ I 18  รับน้ำหนักได้ 15 -18 ตันต่อ 1 ต้น                                                                                                 - 
- สามารถตอกชิดกับโครงสร้างเดิม ระยะประมาณ 50 เซนติเมตร

 

 

ขั้นตอนการทำงานเสาเข็มไมโครไพล์


ขั้นตอนที่ 1 ย้ายตัวปั่นจั่นขนาดเล็กให้เข้าที่ ตำแหน่งที่ตั้งต้องตรงแนวศูนย์กลางของเข็ม โดยทำการทดสอบเพื่อหาจุดศุนย์กลาง
ขั้นตอนที่ 2 นำเสาเข็มท่อนแรกไปวางในตำแหน่ง ทั้งนี้จะต้องตรวจสอบความถูกต้อง โดยการจับระดับมาตรน้ำเพื่อให้ได้แนวดิ่ง
ขั้นตอนที่ 3 ลงมือตอกเสาเข็มลงไปในดินจนเกือบสุด จากนั้นนำเสาเข็มต้นต่อไปมาจรดกับเสาเข็มต้นแรก แล้วทดสอบด้วยการวัดระดับมาตรน้ำอีกครั้งหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 4 หลังจากวางเสาต้นต่อได้ จนได้ระดับแนวดิ่งตรงกับเสาต้นแรกแล้ว จากนั้นจึงทำการเชื่อมต่อเสาเข็มโดยรอบ ด้วยวิธีเชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้เสาเข็มทั้งสองท่อนต่อกันสนิทเป็นแนวเส้นตรง หลังจากนั้นจึงใช้ปั่นจั่นเล็กตอกลงไปทีละท่อน เรื่อยๆจนได้ความลึก และ BLOW COUNT ที่กำหนด

 

ผลงานตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) i18 

 

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้